ประเทศแถวหน้าของวงการการศึกษาโลก

ประเทศแถวหน้าของวงการการศึกษาโลก

ถ้าพูดถึงเรื่องการศึกษาดีเด่นแล้วล่ะก็คงจะไม่พ้นการศึกษาของประเทศนิวซีแลนด์ เพราะเป็นประเทศที่ติด 1 ใน 3 ของประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ และเตรียมความพร้อมเด็กสู่อนาคตมากที่สุด จากการจัดอันดับ Worldwide Educating for the Future Index 2018 โดย The Economist Intelligence Unit 

ซึ่งเป็นการประเมินจากนโยบายการเรียนการสอน  บรรยากาศการในห้องเรียน และสภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยระบบการศึกษาของสถาบันการศึกษาของรัฐในนิวซีแลนด์ถือว่าเป็นอันดับต้น ๆ ของโลกที่ได้รับการการรับรองว่าดีเยี่ยม และเป็นประเทศแรกของโลกที่มีกฎหมายรองรับนักเรียนต่างชาติ ทำให้ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันมีนักเรียนต่างชาติและนักเรียนแลกเปลี่ยนจำนวนมากไปเรียนต่อที่นิวซีแลนด์

ทำให้ในวันนี้เราต้องหยิบประเด็นของระบบการศึกษานิวซีแลนด์มาพูดถึง ว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้การศึกษาของนิวซีแลนด์นั้นแตกต่างไปจากที่อื่น และกลายเป็นระบบการศึกษาที่ดียืนอยู่แถวหน้า ๆ ของโลก

ปัยจัยที่ทำให้นิวซีแลนด์เป็นระบบการศึกษาแนวหน้า

การเตรียมความพร้อมของเด็ก

ดูเหมือนว่านิวซีแลนด์จะให้ทั้งภาครัฐ โรงเรียน ครู ครอบครัว ภาคอุตสาหกรรม หรือผู้ที่มีส่วนร่วมในการออกแบบหลักสูตรที่ทันสมัยสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการวางระบบการศึกษาด้วยกัน โดยให้ผู้ที่มีความเกี่ยวข้องทั้งหมดมาร่วมด้วยช่วยกันวางแผนระบบตั้งแต่แรกเริ่ม เช่น หลักสูตรด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เมื่อกำหนดหลักสูตรแล้วจะส่งไปให้ทุกภาคส่วนออกความเห็น เพื่อให้ได้หลักสูตรที่นักเรียนเรียนได้และเอาความรู้ไปใช้ได้จริงในการทำงานต่อในอนาคตได้ เป็นการวางแผนเตรียมความพร้อมของเด็กเพื่อไปสู่อนาคตที่แท้จริง

ทุกที่คือห้องของการเรียนรู้

หนึ่งห้องเรียนจะมีนักเรียนไม่ได้เยอะมาก อยู่ที่ประมาณ 20-25 คน เพื่อให้คุณครูสามารถช่วยเหลือเด็กได้อย่างมั่งถึง และการเรียนการสอนจะยึดหลักให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง และไม่มีการแบ่งห้องเรียนตามเกรด ตามคะแนนเป็นห้องเด็กเก่งหรือไม่เก่ง แต่จะจัดให้เด็กนั่งกันเป็นกลุ่มในห้องเนียน เพื่อให้แลกเปลี่ยนพูดคุยถึงความคิดเห็นกันได้ เน้นการร่วมด้วยช่วยกันลงมือทำ ฝึกความเป็นผู้นำ ส่วนการสอบจะประเมินจากมาตรฐานการเรียนรู้ และทักษะที่นักเรียนได้จากการเรียนว่าผ่านหรือไม่ผ่าน

และเนื่องจากห้องเรียนมีขนาดเล็กทำให้สามารถเข้าหากันได้อย่างทั่วถึง ทำให้คุณครูจะรู้จักนักเรียนดี และสามารถที่จะปรับรูปแบบการเรียนได้ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับความต้องการและความสนใจของนักเรียน เพราะนักเรียนเป็นศูนย์กลางของห้องเรียนนี้ คุณครูจะช่วยเด็กแต่ละคนในการให้ค้นหาศักยภาพของตัวเอง ตามความถนัดและความชอบโดยแบ่งออกเป็นช่วง เกรด 9-10 จะเป็นช่วงที่เตรียมความพร้อมสู่ชั้นมัธยม จะมีวิชาเลือกให้เด็กเลือกเรียนตามความสนใจของตนเอง ว่าชอบอะไรสนใจสิ่งไหน ก็จะเป็นโอกาสให้เด็กได้เริ่มค้นหาตัวเองในช่วงนี้ และช่วงมัธยมปลายหรือเกรด 11-12 ก็จะมีให้เลือกวิชาเรียนตามความถนัดของตัวเอง โดยเรียนวิชาบังคับ 1-3 วิชา และเรียนวิชาเลือก หลังจากนั้นในเกรด 13 จะเรียนแต่วิชาเลือก โดยจะมีการแนะแนวเส้นทางอาชีพให้อย่างชัดเจน เพื่อที่ว่าเด็กจะได้รู้ถึงข้อมูลในสิ่งที่ตัวเองชอบ ว่าหากเรียนวิชานี้แล้วจะสามารถไปเรียนต่อด้านไหน หรือทำอาชีพอะไรได้บ้างในอนาคต

ปล่อยให้ลงมือทำด้วยตนเอง

ซึ่งโรงเรียนในนิวซีแลนด์จะเน้นการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง ไม่ว่าจะในห้องเรียนหรือนอกห้องเรียนก็จะให้หาความรู้และลงมือทำด้วยตนเองเลย ปฎิบัติจริง โดยจะไม่บอกวิธีทำ แต่จะบอกว่าต้องการผลลัพธ์คืออะไร และให้เด็กไปหาวิธีทำมาเอง เช่น การทำฟาร์ม ทำพาย ถ่ายรูปแฟชั่น ต่าง ๆ

และนอกจากเรื่องของลงมือปฎิบัติด้วยตนเองแล้ว ก็ยังนำเทคโนโลยีเข้ามาสู่ในระบบการเรียนการสอนอีก โดยนำระบบออนไลน์แบบอินเตอร์แอคทีฟในการทำการบ้านของนักเรียน นำเทคโนโลยีเข้ามาตั้งแต่ช่วงชั้นเรียนประถม เพื่อให้คุณครูได้ให้ฟีดแบคนักเรียนแบบรวดเร็ว และยังมีเว็บไซต์ที่ให้เด็ก ๆ เข้าไปเช็กเส้นทางการเรียนของตัวเองได้ว่า เช่น หากต้องการเป็นหมอ จะต้องเรียนอะไร หรือถ้าอยากเป็นดีไซเนอร์ต้องเรียนอะไรบ้าง โดยผ่านระบบการเรียนออนไลน์แบบนี้

อนาคตของประเทศขึ้นอยู่กับระบบการศึกษา

ดูเหมือนว่านิวซีแลนด์จะเป็นประเทศที่มาไกลและวางแผนระบบการศึกษามาดีตั้งแต่แรกเริ่ม โดยคำนึงถึงความรู้ของนักเรียนเป็นหลัก และให้ส่วนที่เป็นนักพัฒนาทั้งหมดเข้ามามีส่วนร่วมเกี่ยวข้องกับระบบการศึกษา โดยให้นักเรียนเป็นศูยน์กลางของการเรียนรู้ และเน้นลงมือทำปฎิบัติจริงทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน และมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องตั้งแต่ช่วงวัยประถมด้วย ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนาของระบบการศึกษาที่นำหน้าไปในหลาย ๆ ประเทศ สมแล้วที่เป็น 1 ใน 3 ของวงการการศึกษาแถวหน้า ส่งผลทำให้กลายเป็นประชากรที่พัฒนานำพาประเทศไปสู่อนาคตที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ